วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีวัดขนาดแหวน

วิธีการวัดเพื่อหาขนาดแหวน

1. หากระดาษ กว้าง 0.5 - 1 ซม. ตัดยาว ประมาณ 10-15 ซม เพื่อจับได้ถนัด

2. จากนั้นพันรอบนิ้วที่จะใส่แหวนให้กระชับ ถ้าข้อนิ้วใหญ่ ให้วัดที่ข้อนิ้ว

3. จากนั้นทำเครื่องหมายบนกระดาษ แล้ววัดความยาวเป็น เซนติเมตร

4. แล้วเปรียบเทียบบนตารางดังนี้




เส้นรอบวง ไซต์แหวน เส้นรอบวง ไซต์แหวน
4.2 ซม. 40 7.8 ซม. 76
4.3 ซม. 41 7.9 ซม. 77
4.4 ซม. 42 8.0 ซม. 78
4.5 ซม. 43 8.1 ซม. 79
4.6 ซม. 44 8.2 ซม. 80
4.7 ซม. 45 8.3 ซม. 81
4.8 ซม. 46 8.4 ซม. 82
4.9 ซม. 47 8.5 ซม. 83
5.0 ซม. 48 8.6 ซม. 84
5.1 ซม. 47 8.7 ซม. 85
5.2 ซม. 50 8.8 ซม. 86
5.3 ซม. 51 8.9 ซม. 87
5.4 ซม. 52 9.0 ซม. 88
5.5 ซม. 53 9.1 ซม. 89
5.6 ซม. 54 9.2 ซม. 90
5.7 ซม. 55
5.8 ซม. 56
5.9 ซม. 57
6.0 ซม. 58
6.1 ซม. 59
6.2 ซม. 60
6.3 ซม. 61
6.4 ซม. 62
6.5 ซม. 63
6.6 ซม. 64
6.7 ซม. 65
6.8 ซม. 66
6.9 ซม. 67
7.0 ซม. 68
7.1 ซม. 69
7.2 ซม. 70
7.3 ซม. 71
7.4 ซม. 72
7.5 ซม. 73
7.6 ซม. 74

หลังจากหายไปนาน

ชายหาดสวยที่สุดในเอเชีย 10 อันดับแรก อยู่ในไทยถึง 6 อันดับ = พะงัน#3 สมุย#4 เขาหลัก#5 พีพีดอน#6 กระบี่#8 ลันตา#9

น่าไปแหะ

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

wellcome To civiw Blog


โอเปร่าเฮ้า (โรงละครแห่งชาติ ซิดนี่)

ปี 1956 จากความคิดที่มีวิสัยทัศน์ของหัวหน้าวงานหนึ่งที่จัดการแข่งขันทางด้าน สถาปัตยกรรมนานาชาติ เพื่อต้องการสร้างโรงละครให้กับ ซิดนี่โดยการแข่งขันได้รับความสนใจจากสถาปนิก 224 มีสถาปนิกจากเดนมาร์ก ได้ส่งแบบเข้าประกวด แต่แบบที่เขาส่งเข้าประกวดไม่เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการได้กำหนด ในวันที่ตัดสิน คณะกรรมการคนหนึ่งได้มาสาย และคณะกรรมการคนที่มาสายนี้ก็มีความเห็นว่าควรจะปรับให้สถาปนิกที่ออกแบบมา ไม่ตรงตามที่กำหนดคนนี้ ตกรอบ แต่ได้มีการคัดค้านจากคณะกรรมการท่านอื่น ๆ และเห็นว่า แบบนี้แหละที่สมควรชนะการประกวดในครั้งนี้

ในที่สุดโอเปร่าเฮ้า ที่มีการสร้างหลังคาเป็นรูปเปลือกหอยสีขาว เป็นสถาปัตยกรรมที่ดีมาก และทำให้คนหลงใหล การที่สร้างเปลือกหอยเป็นชั้น ๆ เป็นการแก้ไขปัญหาของโรงละครที่มีมีชั้นที่นั่งที่ไม่เท่ากันได้ดีมาก เพดานของฝั่งของคนนั่งชั้นบนมักจะเตี้ย เปลือกหอย 3 กลุ่ม 3 ชั้น จึงเป็นการแก้ปัญหาเรื่องเพดานต่ำได้เป็นอย่างดีมาก ในการแข่งขันใช้เวลาตัดสิน 2 ปี คือเริ่มแข่งขันเมื่อปี 1957 และสิ้นสุดการตัดสินปี 1959

เริ่มสร้างโอเปร่าเฮ้า ตอนแรกมีแผนการสร้างเสร็จภายใน 4 ปี ใช้งบประมาณ 7 ล้านดอลล่า ในความเป็นจริงกลับใช้เวลาสร้างถึง 16 ปีใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านดอลล่า ตอนแรกสถาปนิกบอกว่าอย่าพึ่งสร้างเพราะแบบยังไม่เสร็จสมบูรณ์แต่รัฐบาลไม่ เห็นด้วยและต้องการจะสร้างทันที และมีการปรับเปลี่ยนแผน เปลี่ยนโครงสร้างจากเดิม 2 โรง เป็น 4 โรงละครและมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีปัญหากับแบบต้นฉบับของสถาปนิกด้วย

หลังจากทำวิจัย 4 ปีในการทำโอเปร่าเฮ้า จึงทราบว่าจะสร้างหลังคาที่ดีต้องทำอย่างไร คนที่ลำบากที่สุดคือ สถาปนิก ที่ว่าแบบนี้ทำไมมันถึงบานปลายเป็น 100 ล้านดอลล่าจากที่สถาปนิกออกแบบไว้แค่ 7 ล้านดอลล่า เท่านั้น ปี 1975 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาลชุดนี้ต้องการลดต้นทุนและต้องการเข้ามาควบคุมการบริหารจัดการการสร้าง โรงละคร รัฐบาลได้ขัดขวางไม่ให้สร้างเพดานไม้ตรงกลางหอประชุม และเข้ามาแทรกแซงการบริหารจัดการต่าง ๆ มากมาย สุดท้ายสถาปนิกก็ไม่สามารถควบคุมการสร้างให้เป็นไปตามแบบที่เขาได้ออกแบบมา ตั้งแต่ต้นได้ และเขาก็ได้ลาออก คือ ในช่วงใกล้จะสร้างเฟต 2 ในปี 1976 รัฐบาลได้สรรหาสถาปนิกใหม่มารับงานต่อ

ผลงานโอเปร่าเฮ้าใช้เวลาทั้งสิ้น 16 ปี ก็ได้อาคารที่สวยที่สุดในโลก แต่การตกแต่งภายในธรรมดามาก ๆ ไม่มีมาตรฐานเหมือนภายนอกเลย (เพราะเปลี่ยนรัฐบาลและต้องการลดต้นทุน สถาปนิกถูกแทรกแซงเลยลาออก) การเปลี่ยนมือสถาปนิกไม่ได้ช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น แต่กลับทำให้งานช้าลงและใช้งบประมาณสูงขึ้นไปอีก สุดท้าย โอเปร่าเฮ้า เปิดใช้ได้ในปี 1973 จากพระราชินีควีนอลิซเบลที่ 2 ของอังกฤษ ในปี 1998 รัฐนิวเซาเวล ก็ได้ติดต่อให้สถาปนิกคนเดิม (คนเดิมกับที่ออกแบบแต่แรก)ให้มาปรับเปลี่ยนและรื้อระบบภายในให้ดีขึ้น โดยให้โอกาสสถาปนิกคนเดิมสามารถทำอะไรก็ได้ตามที่สถาปนิกเคยออกแบบไว้แล้ว เมื่อ 10 ปีก่อนที่สถาปนิกต้องการจะทำตั้งแต่ต้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้งบประมาณ 66 ล้านดอนล่า